ความรู้เกี่ยวกับ “โช๊คอัพรถจักรยานยนต์” และวิธีเลือกใช้ ให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีครับ ว่ารถจักรยานยนต์หนึ่งคันนั้น จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย หลายๆชิ้น เป็นส่วนประกอบกัน ซึ่งมันจะมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันออกไป ตามวาระตามหน้าที่ของตัวมันเอง และท่านเคยสงสัยกันไหมครับว่า ชิ้นส่วนรถที่ทำหน้าที่เดียวกัน แต่ทำไมมันถึงมีราคาถูก-แพงแตกต่างกัน และการใช้งานที่ไม่เท่ากัน วันนี้ทางทีมงานธานยานยนต์ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับชิ้นส่วนที่สำคัญ ของรถจักรยานยนต์อีกชิ้นส่วนหนึ่งนั้นก็คือ โช๊กอัพหลังกันครับ

ท่านทราบหรือไม่ครับ ว่าโช๊คอัพหลังนั้นมันเป็นตัวรองรับน้ำหนัก และรับแรงสั่นสะเทือน เพื่อส่งมอบความนุ่มนวลให้กับผู้ขับขี่ นอกจากนั้นแล้วมันยังช่วยให้รถยึดเกาะถนนได้ดี ในสถานการณ์ต่างๆที่เจอ และยังช่วยให้การทำงานของระบบเบรก มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย แต่เราควรเลือกใช้โช๊คแบบไหนดีละ? โดยส่วนใหญ่แล้วโช๊คอัพหลังของรถจักรยานยนต์ จะนิยมใช้กันอยู่2แบบ คือแบบโช๊คน้ำมัน และแบบโช๊คแก๊สไนโตเจน เรามารู้จักโช๊คแบบแรกกันครับ โช๊คน้ำมันคือ โช๊คที่อัดน้ำมันกับอากาศเข้าไปในกระบอกโช๊คเน้นความนุ่นนวล สบายๆ เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา ขี่ง่ายๆ บรรทุกไม่หนักมาก ใช้งานน้อย ใช้งานถนนทางเรียบซะส่วนใหญ่ ข้อดีก็คือ ราคาไม่แพง แต่ข้อเสียคือ ไม่เหมาะกับการใช้งานหนักๆขี่ไกลๆ หรือขี่ในสภาพถนนขรุขระ ตกหลุมบ่อย เพราะโช๊คน้ำมันนั้น เวลาทำงานยุบขึ้น ยุบลงบ่อยๆ จะเกิดความร้อนและเกิดฟองอากาศอยู่ในกระบอกโช๊ค และเมื่อทำงานนานขึ้นหนักขึ้น มันจะเกิดฟองอากาศในระบบเยอะขึ้นแล้ว มันก็จะส่งผลทำให้โช๊คย้วยเหมือนโช๊คหมดแรง เวลาขับขี่นานๆเดินทางไกลๆ ผู้ขับขี่จะรู้สึกได้ว่าโช๊คหลังจะนิ่มๆย้วยๆครับ ส่วนโช๊คแบบที่สองคือ โช๊คไนโตเจนเป็นโช๊คที่อัดน้ำมันกับแก๊สไนโตเจนเข้าภายในกระบอกโช๊ค เน้นความนุ่มนวล หนึบแน่น แอบแข็งๆบ้างเวลาเริ่มต้นใช้งานแรกๆ เหมาะกับการใช้งานหนัก เดินทางไกล ออกทริปบ่อยๆ เจอทางขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อเยอะๆ หรือเจอทางวิบาก หรือบรรทุกหนัก เพราะโช๊คประเภทนี้ เวลายุบตัวนานขึ้น หนักขึ้น ร้อนขึ้น น้ำมันโช๊คในระบบจะเกิดฟองอากาศขึ้นมา แต่จะถูกแก๊สไนโตเจนในระบบกำจัดฟองอากาศ ที่เกิดขึ้นออกจากระบบไป ส่งผลให้เวลาใช้งานหนักๆ นานๆ วิ่งไกลๆ โช๊คไม่ย้วย ไม่ยวบ ทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกดี ยิ่งขี่ไกลยิ่งนุ่มยิ่งหนึบ แต่ราคาค่าโช๊คจะค้อนข้างสูงหน่อยครับ

เมื่อท่านทราบ ข้อดี ข้อเสีย ของโช๊คแต่ละแบบกันแล้ว ทีนี้ท่านก็ต้องกลับมามองตัวเองครับ ว่าลักษณะการใช้งานรถของท่าน ใช้งานแบบไหน พื้นที่ที่ท่านอยู่ สภาพถนนเป็นเช่นไร เพื่อที่ท่านจะได้ตัดสินใจเลือกใช้โช๊คให้เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน และที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คืองบประมาณของท่านนั้นเองครับ ขอบคุณท่านผู้อ่านมากครับ ที่อ่านมาจนถึงตอนจบ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่เขียนลงไปนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่บทหน้าครับ ส่วนบทนี้ขอลาทุกท่านไปก่อนครับ สวัสดีครับ

(แสงอาทิตย์ แก่นคำ) ที่ปรึกษางานขาย
( บริษัท ธานยานยนต์ พี.เอ็น.ที. จำกัด)

สอบถามรายละเอียด